Monday, November 22, 2010

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา (Operant conditioning theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา 
(Operant conditioning theory)

Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ
1.     สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent)
2.     พฤติกรรม(Behavior)
3.     ผลที่ได้รับ(Consequence)
ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่ง ทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิด พฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ  สามารถสรุปได้ดังนี้
1.      การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง และหายไปในที่สุด
2.      การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่า การเสริมแรงที่ตายตัว
3.      การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4.      การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิวัยที่ต้องการได้
ดังนั้นในการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะนั้นอาจทำได้ดังนี้
1.      การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)  เมื่อมีการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัวเสริมแรงได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce )  เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ด้วยอาหาร ของที่เล่นได้ และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์
1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คำพูด ได้แก่ คำชมเชย เช่น ดีมาก น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จับมือ
1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ชอบไปเสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ
1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนำเบี้ยอรรถกรไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คูปอง โบนัส เงิน คะแนน
2.      การเสริมแรงทางลบ ( negative reinforcement ) เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทำทันทีหรือเร็วที่สุด เมื่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมใดที่ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้การลงโทษ

เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้

พฤติกรรม
การเสริมแรง
เพิ่มพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
พฤติกรรม
การลงโทษ
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง



เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ

ชนิด
ผล
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคล
นั้นต้องการ
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้าน   ส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรงทางลบ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่
เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลด
น้อยหรือหมดไป
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนด
เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป
ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำ
รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดย
เฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา      เกิดขึ้น
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง
คำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น
เลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่ง
เร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก
ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่
ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก


อ้างอิงจาก
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วี พรินท์ , 2552.
พรรณี ช.เจนจิต. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม , 2545.
สุรางค์  โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,  2548.

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)


ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ( Moral Development Theory) 

ทฤษฎีของโคลเบิร์ก (Kolhberg) เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานสืบเนื่องจากทฤษฎีของพีอาเจต์     แต่โคลเบิร์กได้ปรับปรุงวิธีการวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมทั้งได้ทำการวิจัยอย่างกว้าวขวาง ไม่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ได้ทำการวิจัยในประเทศอื่น ที่มีวัฒนธรรมต่างไป เช่น ประเทศไต้หวัน เตอรกี และเม็กซิโก เป็นต้น โคลเบิร์กได้คิดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีระบบการ ให้คะแนนอย่างมีระเบียบ แบบแผน ผู้ที่จะใช้วิธีการให้คะแนนระดับพัฒนาการทางจริยธรรม จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษ วิธีการวิจัยที่โคลเบิร์กใช้ก็คล้ายคลึง กับวิธีการของพีอาเจต์มาก คือสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรม ที่ผู้ตอบยาก ที่จะตัดสินใจได้ว่า ถูก” “ผิด” “ควรทำหรือ ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้น กับวัยของผู้ตอบ เกี่ยวกับความเห็นใจ ในบทบาทของผู้พฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึด จากการวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบวัยต่าง ๆ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้
 
          ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional) ในระดับนี้เด็กจะได้รับ กฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ ดี” “ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลที่ตามมาที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษมาให้
          พฤติกรรม ดีพฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
          พฤติกรรม ไม่ดีพฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
          โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
          1.1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation)
          1.2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)
         
 ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional) พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้ ผู้ทำถือว่า การประพฤติตนตาม ความคาดหวัง ของผู้ปกครอง บิดา มารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิดเพราะกลัวว่า ตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี เป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
          2.1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ เด็กดี” (Interpresonal Concordance of “good boy, nice girl” Orientation)
          2.2 กฎและระเบียบ (“Law-andorder” Orientation) การทำถูกไม่ประพฤติผิด คือ การทำ ตามหน้าที่ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย และรักษาระเบียบแบบแผนของสังคม
 
          ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-conventional Level) พัฒนาการ ทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะ ตีความหมายของ หลักการและมาตรฐานทาง จริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักฐานของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสิน ถูก” “ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
           
สรุปแล้ว พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมี 3 ระดับ และ 6 ขั้น ขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรม มีดังนี้
          ขั้นที่ 1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง 
โคล เบิร์กกล่าวว่าในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน ถูกหรือ ผิดเป็นต้นว่าถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ผิดและพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูกและจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
          ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน  ใน ขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการ เห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตน แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.........
          ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ เด็กดี”  พัฒนาการ ทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ คนดีตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดามารดา หรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรมดีหมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ
          ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ  โคล เบิร์กอธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบร้อยต้องมี กฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือ คนที่มีพฤติกรรมถูกต้อง คือคนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความเป็นระเบียบของสังคม
          ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา  ขั้น นี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอม รับ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่า สิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูกและ ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็น ความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดให้มีการแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์และ สถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น
          ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)  ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อ ความยุติธรรม ของมนุษย์ทุกคนในขั้นนี้สิ่งที่ ถูก” “ผิดเป็นสิ่งที่มโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ

ตารางแสดงขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคลเบิร์ก
            ขั้นการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม                                        ระดับของจริยธรรม
 ขั้นที่ 1  หลักการหลบหลีก การลงโทษ  (2-7 ปี)             (1) ระดับก่อนเกณฑ์( 2-10 ปี )
 ขั้นที่ 2  หลักเกณฑ์การแสวงหารางวัล   ( 7-10 ปี ) 
 ขั้นที่ 3  หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ (10-13 ปี)          (2) ระดับทางกฏเกณฑ์ (10-16 ปี)
 ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ทางสังคม  (13-16 ปี)
 ขั้นที่ 5 หลักการทำตามคำมั่นสัญญา (16 ปีขึ้นไป) 
 ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล ( ผู้ใหญ่ )                      (3) ระดับเหนือกฏเกณฑ์
             
            จากทฤษฎีข้างต้นแต่ละบุคคลจะมีพัฒนาการจริยธรรมเร็วช้าต่างกัน โดยสามารถพิจารณาได้จากเหตุผลเชิงจริยธรรมที่บุคคลนั้นให้ และเราสามารถจะส่งเสริมให้บุคคลมีการพัฒนาระดับจริยธรรมให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้ โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเรียนรู้จากการตัดสินใจทางจริยธรรมและอภิปรายร่วมกับ  ผู้อื่น การได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกับผู้อื่น จะทำให้บุคคลมีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูงขึ้นได้

อ้างอิงจาก
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วี พรินท์ , 2552.
พรรณี ช.เจนจิต. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม , 2545.
สุรางค์  โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,  
               2548.


Monday, October 18, 2010

การเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

การเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษา

การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษา
การจัดการเรียนการสอนที่บูรณการเรียนรู้กับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษา

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้นแบบ สุขศึกษาและพลศึกษา

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้นแบบ สุขศึกษาและพลศึกษา
รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้นแบบ สุขศึกษาและพลศึกษา

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

ทฤษฎีการเรียนรู้  Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism 

พหุปัญญา : วิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง

พหุปัญญา : วิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง  
พหุปัญญา : วิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง

Sunday, October 17, 2010

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e - Learning

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e - Learning
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e - Learning

การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบบริหารสถานศึกษา

การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบบริหารสถานศึกษา
การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบบริหารสถานศึกษา

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ครูต้นแบบ ภาษาต่างประเทศ

เริ่มเรียนรู้ ฺBlogger

กำลังทดลองใช้ blogger