บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญ



บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์  ซึ่งความหมายและหลักการจัดการศึกษา  ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญาความรู้  และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และแนวการจัดการศึกษายังให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน  โดยยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด  มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 5) ในการจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้  และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา  ซึ่งเรื่องหนึ่งที่กำหนดให้ดำเนินการคือ  เรื่องความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2545: 13) การจัดการเรียนการสอนจึงมีเป้าประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล  โดยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมิได้มีขอบเขตเฉพาะการมีความรู้เท่านั้น  แต่รวมถึงการมีทักษะการดำเนินชีวิตอันเป็นลักษณะและความสามารถพื้นฐานในการตอบสนองสิ่งแวดล้อมภายนอกและความรู้สึกนึกคิดภายในตนเองได้อย่างเหมาะสม  จนทำให้บุคคลสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างปรกติสุข (นิธิมา  หงส์ขำ, 2548 : 2) ดังนั้นทักษะชีวิตจังเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตให้เป็นไปอย่างมีความสุข
การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากภายใน "จิตสาธารณะ" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม (เวชพล อ่อนละมัย, 2549: 2)


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม
2.เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้ชุดกิจกรรมกับการสอนแบบปกติ


สมมติฐานของการวิจัย
1.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังใช้
ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม
2.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมสูง
กว่าการสอนแบบปกติ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้ชุดกิจกรรม
2.ครูและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำชุดกิจกรรม ช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3.โรงเรียนสามารถนำชุดกิจกรรมไปพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



นิยามศัพท์เฉพาะ
1.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
2.จิตสาธารณะ
3.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ
4.ชุดกิจกรรม